ขอความช่วยเหลือจากผู้เคยไป NYC

เนื่องจากว่าอีกประมาณ 1 เดือนผมจำเป็นต้องเดินทางไป NYC เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ด้วยกิจธุระทางด้านการงาน (ถ้าออฟฟิศไม่เปลี่ยนใจนะครับ) แล้วนี่จะเป็นครั้งแรกที่ผมไปอเมริกา ก็เลยอยากจะรบกวนผู้รู้ว่า ผมควรจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?

แบ่งออกเป็นหมวดๆได้ตามนี้ครับ

1.เสื้อผ้า – หนาวไหมครับ? อันนี้สำคัญมาก เพราะผมเป็นคนขี้หนาว

2.อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ – ผมจะหาซื้อปลั๊กสำหรับเต้าเสียบที่ NYC ได้ที่ไหนครับแล้วราคาเท่าไหร่? อมรมีไหม อ้อ อแดปเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยครับ

3.บัตรเครดิตอะไรจะเวิร์คที่สุดครับ ระหว่าง citibank HSBC และ ktc (ทั้งหมดนี้เป็นบัตร VISA ทั้งหมดและวงเงินพอๆกัน) อยากจะเอาไปแค่ใบเดียวน่ะครับ

4.อันนี้สำคัญ (ทางจิตใจอย่างมาก) ผมอยากเห็นงานแวนโก๊ะแท้ๆด้วยตาตัวเองสักครั้ง มิวเซียมไหนมีงานเด่นๆของแวนโก๊ะบ้างครับ?

ตอนนี้คิดออกเท่านี้ ถ้าคิดได้จะมาขอรบกวนเพิ่มเติมอีกนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคอมเม้นต์ครับ

36 thoughts on “ขอความช่วยเหลือจากผู้เคยไป NYC

  1. แงๆ อุตส่าห์พิมพ์ซะยาว แต่ทำไมโพสต์ไม่ได้ไม่รู้แฮะ…

  2. อืมม์ ดูเหมือนจะมีปัญหาอะไรซักอย่างกับคอมเมนต์ที่โพสต์ไป มันขึ้นว่าโพสต์คอมเมนต์ไปแล้ว งงจริงๆ ค่ะ

  3. สงสัยที่ตอบไปคราวแรกยาวไป ลองตัดเป็นทีละข้อละกัน 😛
    ข้อ 1. ลองดูที่เว็บอากาศนะคะ เว็บนี้ก็ใช้ได้ค่ะ http://www.wunderground.com/US/NY/New_York.html เวลาเตรียมเสื้อผ้าแนะนำให้เตรียมเป็น layer คือสามารถใส่ทับๆ กันไปได้ อากาศเปลี่ยนแปลงจะถอดได้สะดวก (เช่น เสื้อแขนยาวหรือ สเว็ตเตอร์ที่ไม่หนามาก 2 ตัวจะดีกว่าโค้ทหนาๆ 1 ตัว เพราะถ้าหนาวมาก เราใส่ทับ 2 ชั้น แต่ถ้าหนาวน้อยเราก็ใส่ชั้นเดียว ถ้าโค้ทหนาๆ เกิดหนาวนิดเดียวจะใส่โค้ทก็เหงื่อแตก จะไม่ใส่เลยก็หนาวไป)

  4. อืมม์ ทำไงก็โพสต์ไม่สำเร็จ ทีแรกคิดว่ายาวไป ลองตัดให้สั้นๆ ก็ยังโพสต์ไม่ได้ เป็นงงจริงๆ -_-“

  5. อ้าว ตกลงโพสต์ได้นี่นา แต่ทำไมตะกี้มันไม่ขึ้นให้ดูแฮะ อ่ะ ทดลองข้อต่อไปละกันนะคะ

    ข้อ 2. ปลั๊กในอเมริกา เหมือนกับปลั๊กไทยที่เป็นขาแบนๆ นะคะ แต่ว่า Volt จะต่างกัน (ไทย 220 V 50 Hz อเมริกัน 110 V 60 Hz) ถ้าคิดจะเอาเป็นโน้ตบุ๊คไปใช้ adapter ส่วนใหญ่จะใช้ได้กับทั้ง 110 และ 220 V อยู่แล้ว หรือกระทั่งที่ชาร์จมือถือ หรือกล้องดิจิตัล ส่วนใหญ่ใช้ได้ทั้งคู่เหมือนกัน (แต่ยังไงเพื่อความชัวร์ เช็คดู spec ที่สติกเกอร์ที่ติดบน adapter นิดหนึ่งก็ดีค่ะ) แค่ดูให้มั่นใจว่าปลั๊กเป็นขาแบนก็พอ แต่ถ้าเป็นปลั๊กขากลม ก็ซื้อตัวเปลี่ยนจากขากลมเป็นขาแบนได้ในแผนกเครื่องไฟฟ้าตามห้างร้านทั่วไปได้เลยค่ะ ราคาไม่กี่บาทค่ะ

  6. คุณ nitbert รบกวนอีกทีครับ ผมรู้สาเหตุแล้ว ระบบมันดันทะลึ่งนึกว่าคอมเม้นต์คุณ nitbert เป็น spam น่ะครับ ผมเข้าไปแก้ไขแล้ว แต่บังเอิญคลิกผิด ทะลึ่ง (กว่า) ไปลบคอมเม้นต์อันยาวไปซะนี่ ขอรบกวนอีกทีนะครับ

  7. ข้อ 3. เท่าที่เคยใช้ KTC ก็สะดวกดี ไม่ต้องโทรแจ้งก่อนว่าจะเอาไปใช้ เคยเอา MasterCard ของ UOB ไปใช้ รูดได้ครั้งเดียวแล้วรูดไม่ได้อีกเลย พอโทรกลับมาถามที่เมืองไทย ได้ความว่า เขาระงับบัตรไว้ เพราะเห็นว่ามีการไปใช้ที่ต่างประเทศ เขาจะติดต่อเราเพื่อคอนเฟิร์มว่าเราใช้จริงหรือเปล่า ก็ติดต่อไม่ได้ (ก็ไม่ได้เอามือถือไปอ่ะนะคะ) เขาเลยระงับบัตรซะงั้น (บอกว่า ต้อง”ดูแล”บัตรให้ลูกค้า แต่ไม่นึกเลยว่าลูกค้าอาจไม่มีตังค์) ยังดีว่า nitbert เอาบัตรใบอื่นไปด้วยเลยรอดตัวไป (ซึ่งถ้าฟังแบบนี้ nitbert แนะนำว่าเอาไป 2 ใบจะดีกว่านะคะ กันเหนียวไว้หน่อยอ่ะค่ะ)

  8. ข้อ 4. ข้อนี้ไม่ค่อยมีความรู้มาก แต่แนะนำ The Met หรือชื่อเต็มๆ ว่า The Metropolitan Musuem ค่ะ (ที่ใช้เป็นฉากในหนังเรื่อง The Thomas Crown Affair ที่เพียร์ซ บรอสแนน เล่นอ่ะค่ะ) เท่าที่เช็คในเว็บของเขา http://www.metmuseum.org/ มีงานของศิลปินยูโรปอยู่พอประมาณ ของ Van Gogh มีชิ้นที่ชื่อว่า Cypresses http://www.metmuseum.org/Works_of_Art/viewOne.asp?dep=11&viewmode=0&item=49%2E30 แต่ลองรอฟังความเห็นจากคนอื่นๆ ก่อนก็ได้นะคะ ว่ามี Musuem อื่นอีกหรือเปล่า

  9. ฮ่าๆๆ สงสัยระบบเห็นในคอมเมนต์มีลิงก์อยู่ด้วย เลยนึกว่าเราจะมาขายยาไวอากร้าอะสิ

  10. รบกวนอีกที คุณ mymoney เป็นที่ลิงก์จริงๆ ด้วย เพราะคอมเมนต์อันที่ 8 (มีลิงก์ของ The Met) ขึ้นว่ารอ moderation แต่คอมเมนต์ที่ 9 มีแต่ข้อความ โพสต์ได้เลยไม่มีปัญหา

    เพิ่งเข้าใจว่ากลไกการกรอง spam ของ wordpress มันเป็นเช่นนี้นี่เอง!!!! (เวลาอ่าน ทำเสียงเหมือน เกมโชว์ญี่ปุ่นด้วยนะคะ อิอิ)

  11. ขอบคุณคุณ nitbert มากครับ ขอถามต่อเนื่องหน่อย (ไหนๆก็หลวมตัวมาแย้ว) ข้อ 2 เรื่องปลั๊ก ที่คุณ nitbert บอกว่าปลั๊กแบนๆเหมือนของไทย นี่หมายถึงว่า แบนๆ 2 ขาและหันเหลี่ยมเหมือนกันเป๊ะ และตำแหน่งตรงกันเป๊ะ ชนิดที่ว่าสามารถเสียบกันได้เลยทันทีใช่ไหมครับ? (แฮ่ เห็นใจบ้านนอกเข้ากรุงหน่อยนะครับ)

  12. ใช่แล้วค่ะ เสียบกันได้พอดีเป๊ะไม่ต้องแปลงอะไรเลยค่ะ

  13. โอ้ว สุดยอด ประหยัดเงินซื้อของไปหนึ่งชิ้นแล้ว ขอบคุณคุณ nitbert มากครับ

    เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ เนื่องจากวันนี้พิมพ์คำว่า nitbert หลายครั้งเลยสงสัย ชักคุ้นๆ ชื่อ nitbert นี่มาจาก Dilbert ของอีตา Scott Adams รึป่าวครับ?

  14. ใช่แล้วค่ะ 😛

  15. http://www.artcyclopedia.com/artists/van_gogh_vincent.html
    เวปนี้บอกว่างานอะไรอยู่ที่ไหนบ้าง และมีลิงก์ไปที่เวปของมิวเซียมนั้นๆ 🙂
    ที่ The Met มี Cypresses
    ส่วน The MoMA มี The Starry Night

    ปล. เดือนหน้าคงไม่หนาวแล้วกระมั้ง .. เตรียมแจ๊กเก็ทบางๆมากันเหนียวก็คงจะพอ (แต่เช็คอุณหภูมิก่อนเดินทางซัก 1-2 วันจะชัวร์กว่า)

  16. เรื่องบัตรเครดิต Visa นี่รับแพร่หลาย แต่ควรจะโทรไปบอกแบงค์ที่ออกบัตรว่าจะเดินทางไปเมืองนอก อาจบอกวงเงินเพิ่มชั่วคราวไว้ด้วยก็ดี แล้วถามว่าถ้าเกิดบัตรหาย จะต้องติดต่อใครที่ไหนอย่างไร

    ถ้าไปช่วงมิถุนา ผมว่าอาจจะร้อนแล้วนะ เช็คอากาศดีๆ ถ้ามี Heat Wave เข้ามา ต้องระวังตัวดื่มน้ำบ่อยๆ

    แนะนำให้เริ่มหาตั๋ว Broadway Theatre ต่างๆที่สนใจ ลองไปดูซักครั้ง จะเห็นความอลังการ อาจจะหลงใหลเลย

  17. I think you’ve got all of your answers. Good luck.

    ps. you should have a calling card (buy it at any minimart). It will become handy.

  18. สำหรับคำแนะนำเพิ่มเติมนะคะ…ไม่ควรพกสิ่งของมีค่ากับตัวมากนัก ส่วนเงินสดควรแยกไว้หลายที่ สำคัญมากสำหรับพาสปอร์ต ควรมีสำเนาไว้เสมอ เช็คสถานฑูตฯ หรือกงสุลไทย ในกรณีฉุกเฉิน ในสถานที่ท่องเที่ยวมักจะแฝง มิจฉาชีพ เพื่อลอกคราบนักท่องเที่ยวเสมอ…

    เชอรี่

  19. ขอบคุณ คุณ bpitti คุณ Khun T คุณ alwayslek และคุณเชอรี่ มากครับ

    ป.ล.ถ้ามีคำแนะนำอะไรเพิ่มเติม คอมเม้นต์มาเพิ่มได้เลยนะครับ นอกเหนือจาก 4 ข้อที่ผมตั้งเอาไว้ก็ได้ครับ

    ขอบคุณครับ

  20. visa ใช้ได้ดีทุกธนาคารครับ แต่เห็นเพื่อนเคยบอกว่าถ้าเป็นธนาคารไทยจะได้ rate ที่ดีกว่า ผมไม่เคยเช็คเหมือนกัน

    ดึกแล้วอย่าไปเดินเล่นในเซ็นทรัลปาร์คนะครับ

    Have a nice journey!

  21. เพิ่งนึกได้อีกอันหนึ่งค่ะ เวลาที่ใช้บัตรเครดิต อัตราที่ธนาคารคิดให้เราจะแพงกว่าอัตราที่เราเห็นเป็น selling rate อยู่ประมาณ 2-3% นะคะ

    เช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนวันที่เราใช้บัตรเป็น 35 บาท/$ ในสเตทเม้นต์บัตรเครดิตอาจจะเป็น 35.7-36.05 บาท/$ เคยถามธนาคารว่าทำไมแพงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนจริง เขาบอกว่าเป็นอัตราที่ Visa คิดมา แต่พอไปดูในเว็บของ Visa เขาบอกว่าเป็นอัตรา markup ของแต่ละธนาคาร เราก็เลยไม่รู้ไอ้ 2-3% ที่จ่ายเพิ่มไปใครเป็นคนได้ไปกันแน่ -_-”

    แล้วก็พยายามจะหาว่าตกลงมันกี่ % กันแน่ก็หาไม่ได้ เพราะธนาคารเขาบอกว่า คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ Visa กำหนดมา (ซึ่งบนเว็บ Visa ไม่ได้ post อัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวันให้ดู)

    ถ้าเรารู้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ แล้วแลกเป็นเงินสดไปให้พอดีๆ ก็จะทำให้ไม่ต้องเสีย 2-3% ตรงนี้ (แต่ถ้าจะซื้อของแพงๆ พกเงินสดเยอะๆ ก็อาจจะอันตรายเกินไป) แต่ใช้บัตรก็ดีตรงไม่ต้องกังวลเรื่องแลกเงิน US ไปเกิน แล้วเวลามาแลกกลับเป็นเงินบาท ก็จะะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนตอนขาย

    แล้วเวลาเอา US มาแลกเป็นเงินบาท แบ๊งค์ใหญ่ (50/100) จะได้อัตราดีกว่าแบ๊งค์เล็กนะคะ ถ้าจะกลับแล้วมีเงินเหลือเป็นแบ๊งค์เล็กๆ ขอแลกกับร้านค้าเป็นแบ๊งค์ใหญ่ๆ กลับมาจะดีกว่าค่ะ

  22. เวลาเอาบัตรเครดิตไปใช้ที่นอกประเทศที่ออกบัตรให้ จะโดนชาร์ตค่าบริการเพิ่ม 3% ค่ะ ทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ไม่เคยลองใช้ AMEX นอกประเทศเลยไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาคิดเท่าไหร่

    พวกนี้ในใบ conditions เขาจะบอกไว้ ไม่งั้นก็โทรถามบริษัทบัตรดูค่ะ

  23. สำหร้บบัตรเครดิตนี่ คงจะเห็นด้วยกับคุณnitbert ค่ะ แปลกใจนิดหน่อยว่า ในทางกลับกันการใช้บัตรเครดิตต่างประเทศในเมืองไทย เค้าจะคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันนั้นๆที่เราใช้จ่าย ไม่มีการชาร์ทเพิ่มเติมแต่อย่างใดค่ะ
    เชอรี่

  24. โอ้ว…รายละเอียดปลีกย่อยแบบนี้ไม่เคยรู้ ขอบคุณทุกคนทุกคอมเม้นต์ครับ

  25. ที่บอกว่า 2-3% ไม่ใช่ service charge หรือ additional fee นะคะ ใน statement จะโชว์จำนวนเงินเท่ากับที่เราใช้จ่ายในตปท. เช่น เราซื้อของ 10 เหรียญ เขาจะ charge เรา 10 เหรียญ แต่คิดอัตราแลกเปลี่ยนที่แพงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เราจะแลกได้ถ้าเอาเงินสดไปแลก ซึ่งคิดในมุมกลับอีกที ก็ไม่แปลกที่เขาจะชาร์จเพิ่ม เพราะเราเอาเงินเขามาใช้ก่อน 🙂 (ถ้าเป็น service charge หรือ additional fee นี่กระทั่งในเมืองไทย บางร้านที่เขาไม่อยากรับบัตรเครดิตเขาก็จะคิดเพิ่ม ซึ่งเขาจะต้องบอกเราก่อนว่า ถ้าใช้บัตรเครดิตจะชาร์จเพิ่ม xx เปอร์เซ็นต์นะคะ คนซื้อก็ตัดสินใจเอาเองว่าจะใช้บัตรหรือจะจ่ายเงินสด)

    อัตราแลกเปลี่ยนที่แพงขึ้นมานี่ เหมือนกันทั้ง Visa และ MasterCard (พอดีไม่ได้เอา AMEX ไปใช้เลยไม่รู้ว่า เป็นด้วยหรือเปล่า) และอัตราใกล้เคียงกัน (ซึ่งก็ makes sense เพราะไม่งั้น คงมีคนบอกต่อๆ กันว่า Visa หรือ MasterCard ให้เรทดีกว่า แล้วคนก็จะเทไปใช้อีกค่ายหนึ่ง) เราสังเกตว่าสมัยก่อน (หลายปีแล่ว) ถ้าเอาบัตร Visa ไปใช้ต่างประเทศ จะได้อัตราเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยนจริงเลย แต่ที่สังเกตครั้งแรกได้ว่ามีการคิดอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าคือตอนไปต่างประเทศปี 2003 ค่ะ

    อีกอย่างหนึ่งที่เพิ่งนึกได้คือเรื่อง tax (อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะละเอียดไปหรือเปล่า) ที่อเมริกา ส่วนใหญ่เวลาซื้อของจะต้องจ่าย tax เพิ่ม (คล้ายๆกับ VAT ของเรา) แต่ไม่ได้รวมไว้ในราคาที่ติดไว้

    tax แต่ละเมือง/รัฐจะไม่เท่ากัน เมืองที่ tax โหดๆ ก็อย่าง Chicago รู้สึกจะปาเข้าไป 8-9% ส่วน NYC ก็คิดว่าติดอันดับเมืองที่ tax แพงเหมืนกัน (มีบางเมือง/รัฐไม่มี tax เลย – แต่มีน้อยมากๆ เท่าที่รู้คือ รัฐเดลาแวร์) เพราะฉะนั้นเวลาไปกินแม็คโดนัลด์ (เดาว่าคนไทยส่วนใหญ่คงไม่พ้นต้องพึ่ง Mc เข้าซักมื้อหนึ่ง อิอิ) เห็นเมนูราคา $6.99 อย่าแปลกใจว่า เทำไมเขาบอกราคาเราแพงกว่านั้น ที่เกินมาคือ tax ค่ะ

  26. เออ ใช่ มี tax ด้วยนี่นา เคยแต่อ่านเจอ ไม่เคยไปเอง งวดนี้ต้องเจอ tax แล้วสิเนี่ย

  27. เรื่อง tax ของที่ซื้อของคืนได้นี่คะ แต่ไม่ทราบว่ารวมถึงอาหารหรือเปล่า อันนี้ต้องหาข้อมูลเพิ่มอ่ะค่ะ

    ส่วนเรื่องค่าบริการ เราคงใช้คำพูดให้เข้าใจผิด เราหมายถึง”ค่าบริการในการนำบัตรไปใช้ต่างประเทศ”นะคะ ไม่ใช่ % เพิ่มที่เมืองไทยชอบคิดจากการเลือกใช้เงินสดหรือบัตรเครดิต

    นี่หยิบ statement มาเปิดดูว่าเราจำไม่ผิดจริงๆ 55
    คือปี 2005 เอาบัตรกลับไปใช้เมืองไทยค่ะ ใช้ทั้ง VISA และ MASTER โดนชาร์ตเพิ่มทั้งคู่ มาสเตอร์เป็นของ Citi ค่ะ

    VISA อันนี้ของ Bank of America รายละเอียดดีมาก ใน Statement เค้าจะบอกว่าที่จ่ายเป็นเงินไทยเท่าไหร่แล้วคิดด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเท่าไหร่(ในแต่ละ transaction ถึงจะเป็นวันเดียวกัน แต่คนละเวลาเค้าก็คิดต่างกันค่ะ แต่ต่างในหลักหลังทศนิยม ซึ่งน่าจะตามราคาแลกเปลี่ยน ณ เวลานั้น) แล้วเป็นเงินดอลล่าห์เท่าไหร่ (Citi ไม่บอกรายละเอียดว่าคิดที่เรทเท่าไหร่)

    เสร็จแล้วที่ท้าย statement ของทั้งคู่จะเขียนว่า “Foreign Currency Conversion Fee” ซึ่งเท่ากับ 2-3% ของจำนวนเงินที่ใช้บัตรรูดไปในต่างประเทศค่ะ (ไม่ใช่เงินที่ร้านค้าบวกเพิ่มเองแน่นอนค่ะ)

    เรทการคิดค่าบริการนี้ต่างกันในแต่ละบัตร ถึงได้บอกว่าถามบริษัทผู้ออกบัตรค่ะ ซึ่งน่าจะมีผลในการเลือกว่าจะใช้บัตรไหน 🙂

    ส่วนเรทที่คิดจะคิดแพงที่สุดของวันหรือแพงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินสดอันนี้ก็เข้าใจได้ค่ะ ว่าหลายที่เขาก็ต้องคิดในเรทที่บริษัทตัวเองกำไร

  28. อืมม์ ที่ธนาคารในอเมริกาอาจจะถามแล้วได้คำตอบ แต่ธนาคารในไทยนี่ ลองมา ๒ แบ็งค์ ไม่ได้คำตอบที่ต้องการทั้ง ๒ แบ็งค์ ทั้งคู่ตอบตรงกันว่า เป็นเรทที่ Visa/MasterCard คิดมา และเขาไม่ได้บวกเพิ่มแต่ประการใด เราถามว่าแล้วเรทแบบนี้ในแต่ละวันจะดูได้จากที่ไหน เขาก็ตอบไม่ได้ ในเว็บไซต์ของ Visa กับ MasterCard ก็ไม่โพสต์เรทให้ดู

    จำได้เลาๆ ว่าในเว็บ Visa มีพูดถึงค่า cross-border transaction (คงเป็นค่าเดียวกับ Forien Currency Conversion Fee ที่คุณ bpitti พูด) แต่หารายรายละเอียดไม่เจอว่า แต่ละประเทศเป็นเท่าไหร่ (เช่น บัตร Visa ของธนาคารไทย ไปใช้ อเมริกา คิดเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์)

    ความจริงถ้าใครหาคำตอบตรงนี้ให้ได้ และช่วยมาแชร์ให้ จะดีใจมากๆ เพราะคราวที่แล้วที่ไปต่างประเทศก็เป็น Business Trip ต้องมาทำเรื่องเบิกเงินคืนก็รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะไม่รู้ว่าเรทมาจากไหน มีที่มาที่ไปยังไง แล้วก็ไม่อยากเอาสเตทเม้นต์บัตรเครดิตตัวเองไปเป็นหลักฐานในการเบิกเงินซักเท่าไหร่ เพราะมีส่วนที่ใช้ซื้อของส่วนตัวอยู่ด้วย (ไม่อยากจะเอาเรื่องส่วนตัวมายุ่งในเรื่องงาน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ)

    เรื่อง tax refund น่าจะขอคืนได้เฉพาะของที่ซื้อแล้วเอาออกนอกประเทศนะคะ ลองถามรายละเอียดจากพนักงานขาย เขาน่าจะตอบได้ค่ะ

  29. ในใบที่บอกว่าบัตรเค้าคิด APR เราเท่าไหร่ Annual Fees, Late fee, min finance charge, etc. เท่าไหร่ .. จะมีบอกไว้ค่ะว่า “Transaction fee for purchases made in foreign currency” จะคิดอย่างไรและเท่าไหร่ อย่างของบัตรเครดิตที่เขาชอบส่งมาให้สมัครที่มีอยู่ตอนนี้ บอกว่า “x% of the amount of each foreign currency purchase after its conversion into US$”

    ซึ่งถ้าหากต้องการทราบแต่หาใบเก่าไม่เจอแล้ว ก็ให้เขาส่งรายละเอียดของบัตรที่คุณใช้อยู่มาให้คงได้นะคะ เพราะมันเป็นข้อมูลที่แบงค์หรือบริษัทบัตรเครดิต”ต้อง”บอกเราค่ะ

    ส่วนเรทที่คิดเขาคงไม่สามารถบอกได้ ยังไงคุณคงต้องคิดเป็นเรทเหมารวมเวลาเบิกแหละค่ะ สิ่งที่แบงค์ทำ(นี่คือเจ้าหน้าที่ที่ธนาคารเคยอธิบายให้ฟัง) เคสนี้เป็น ATM แต่น่าจะคล้ายกัน คือ หลังจากคุณรูดบัตร หรือ กดเงินออกไปแล้วร้านค้าหรือตู้ ATM จะตัดเรทเลยแล้วส่งไปยังธนาคารเจ้าของบัตร แล้วทีนี้ธนาคารเจ้าของบัตรเขาจะมี Grace period(หวังว่าจะใช้คำไม่ผิด) ในการตัดยอดเงินบันทึกลงในบัญชีของเราค่ะ ซึ่งแน่นอนว่า(ถึงจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์) เขาก็ต้องเลือกบันทึกยอดลงไปในวันและเวลาที่อัตราแลกเปลี่ยนที่เขาอย่างน้อยก็เท่าทุนหรือไม่ก็กำไร (หรือเขาอาจบอกเราว่าเป็นเวลาใน process transaction)

    ในเมื่อเป็นแบบนี้ rep จึงไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเขาจะใช้เรทไหน ถึงแม้จะใช้เรทที่ Real-time(กรณีแบงค์บอกว่า % ที่ชาร์ทเราพอแล้ว เราไม่หากำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน) แต่เวลาเราเบิกจาก biz trip เราก็คงไม่สามารถมานั่งคิดอัตราแลกเปลี่ยนแยกทีละ transaction เพื่อความถูกต้องที่สุด อยู่แล้วจริงไหมคะ ฉะนั้นที่เราทำได้คือเหมาเอาเรทหนึ่งและเพื่อความปลอดภัยก็เรทที่แพงสุดคำนวณกับใบเสร็จที่เรามี แล้วบวก %cross-border transaction ที่โดนชาร์ท (ซึ่งตอนนั้น statementยังไม่ออกแน่ๆ ถ้า statement ออกแล้วคงไม่ต้องห่วงว่าจะเบิกขาด) 🙂

    Note: สิ่งที่พูดมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำความเข้าใจมาในฐานะผู้ใช้บัตรเครดิตมาเพียงไม่กี่ปี ผู้คอมเม้นท์ไม่ได้มีความรู้เรื่องระบบการเงินและการธนาคารแต่อย่างใด ^^

  30. เคยอ่านหน้าที่คุณ Khun T แนะนำมาแล้วค่ะ แต่เป็นแค่คำอธิบายทั่วๆ ไป ไม่มี specific rate สรุปคร่าวๆ ก็คือ Visa คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละวัน กับชาร์จค่า ISA (International Service Assessment) 1% แต่อัตราแลกเปลี่ยนที่เราได้จริงก็ขึ้นกับธนาคารเจ้าของบัตรอีกที

    ที่คุณ bpitti พูดถึง คือบัตรเครดิตของอเมริกาใช่ไหมคะ เพราะค่อนข้างมั่นใจว่าสเตทเมนต์บัตรเครดิตของไทย ไม่มีรายละเอียดที่ว่า

    เป็นผู้บริโภคเมืองสารขัณฑ์นี่ต้องทำใจมากๆ กว่าจะได้ข้อมูลอะไรแต่ละอย่าง เลือดตาแทบกระเด็น ข้อมูลที่เราต้องได้รู้ เขาก็ทำเป็นเฉยๆ ไม่บอกซะงั้น แล้วก็ไม่มีหน่วยงานอะไรมาช่วยบังคับให้เขาทำตามกฏด้วย

    อย่างตอนที่โทรไปถาม call center ของบัตรเครดิต กว่าคุณพนักงานจะเข้าใจได้คำถามของเราก็ต้องอธิบายอยู่พักใหญ่ พอเข้าใจแล้วก็ไม่รู้คำตอบ แถมบอกว่า ก็อยู่ที่ประมาณ 2-3% แหละค่ะ (จะเอาละเอียดกว่านั้นไปทำไม คนอื่นไม่เห็นมีใครเขาอยากรู้แบบนี้เลย) อืมม์ ในวงเล็บเขาไม่ได้พูดนะคะ แต่น้ำเสียงของเขาทำให้เรารู้สึกแบบนั้น สุดท้ายก็เลยยอมแพ้

    คุณ mymoney ขอโทษมากๆ เลยนะคะ ที่มาใช้เนื้อในบล็อกบ่นๆๆๆ และพาออกนอกลู่นอกทางไปไกลจนจำนวนโพสต์ระเบิดระเบ้อขนาดนี้ ไม่รบกวนแล้วค่ะ 😀 (แต่ความจริงยังเป็นเรื่องเงินๆ ทองๆ อยู่นิ… ไม่ได้นอกลู่ซะทีเดียว แหะๆๆ)

  31. คุณ nitbert ครับ ไม่ต้องขอโทษเลยแม้แต่น้อย ยิ่งคุยกันแตกประเด็นไปมากเท่าไหร่ผมก็ยิ่งได้รู้อะไรที่ไม่เคยรู้มากขึ้นเท่านั้น เรื่องที่คุยกันอยู่นี่ผมไม่เคยรู้เรื่องเลยสักนิด จริงๆแล้วผมต้องขอบคุณทุกคนเสียมากกว่า ที่สละเวลามาตอบคำถามให้ผม แล้วยังมีข้อมูลเพิ่มเติมมาให้อีกมากมาย

    ผมชอบบรรยากาศแบบนี้มากเลย คนมีความรู้ยอมเสียเวลามาถกกัน มาแชร์ในสิ่งที่แต่ละคนรู้เพื่อแบ่งปันให้กัน knowledge for all ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ควรกักเก็บไว้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ถ้าแบ่งปันให้กันแล้วมันน่าจะขยายต่อยอด ยิ่งเกิดประโยชน์มากขึ้นได้อีกไม่รู้จบ ซึ่งก็คือที่มาของ blog เล็กๆแห่งนี้

    จะว่าไปแล้ว อ่านมาถึงตอนนี้ทำให้ผมได้คิดว่า จริงๆผมน่าจะเลิกเขียน blog นี้ได้แล้ว เพราะความรู้ที่ผมมีอยู่มันแค่หางอึ่งจริงๆ เป็นกบในกะลาหลงนึกว่าโลกนี้ใบนิดเดียว พอเปิดกะลาออกมาเจอของจริงก็ตาลาย เฮ้อ…

  32. ต้องขอโทษคุณ mymoney ที่มาคุย off topic กันยาวมาก 555 .. ส่วนเรื่องที่เขียน เขียนต่อไปเถิดค่ะ น่าสนใจดีออกค่ะ เราไม่ค่อยรู้เรื่องเหล่านี้เท่าไหร่แต่สนใจค่ะ 🙂
    =========
    =========

    ไหนๆก็ไหนๆขอ คุยอีกนิดนึงค่ะ ^^
    คุณ nitbert
    ใช่ค่ะ ข้อมูลที่บอกมาจากที่มีอยู่ในมือซึ่งเป็นบัตรที่ issued ที่เมกาค่ะ แต่บริษัทบัตรเหล่านี้เป็น international corporates น่าจะเหมือนๆกันนะคะ 🙂

    จริงๆเอกสารตอนสมัครบัตรยังอยู่ไหมคะ? ถ้าหาไม่ได้จริงๆลองถามพนักงานในส่วนที่เขาขายบัตร เรียกไรหนอหน่วยที่เขาหาลูกค้าให้บัตรเครดิตอ่ะคะ เขาควรจะตอบส่วนนี้ได้ ไม่งั้นก็ขอให้เขาส่ง disclosure หรือ card holder agreement มาให้อ่ะค่ะ (หวังว่าจะไม่คิดเงินค่าเอกสารนะคะ – -‘ คาดเดายากจริงๆค่ะกับประเทศเรา โดยเฉพาะในส่วนการให้บริการและการข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า)

    ===========

    อันนี้ให้ดูเฉยๆค่ะ ว่าต่างแบงค์เค้าคิดเรทon foreign purchasesที่ต่างกัน บางแห่งไม่คิดด้วยซ้ำ(แต่บัตรอาจมี annual fee)
    http://www.bankrate.com/brm/news/cc/20050624b1.asp
    เขาพูดถึงเรทที่คุณพูดถึงเรื่อง 1% ด้วยค่ะ ^^ ตอนแรกเห็นเหมือนกัน แต่พูดไปพูดมาเดี๋ยวงงกันใหญ่เพราะเราก็อย่างที่บอก .. เป็นแค่ผู้ใช้บัตรที่ไม่มีความรู้เรื่องระบบนี้
    (ยกมา The fees are twofold: Visa and MasterCard have a standard 1 percent charge on foreign purchases and the issuing bank adds another fee.)

  33. คุณ mymoney เขียนต่อไปเถอะค่ะ เรื่องส่วนใหญ่ที่คุณเขียน nitbert ก็ไม่มีความรู้เลย มาอ่านแล้วก็ได้ความรู้กลับไปเสมอค่ะ อย่าเลิกๆๆ 🙂

    ส่วนเรื่องบัตรเครดิตนี่ ว่าจะไม่รบกวนแล้ว แต่ก็ต้องกลับคำจนได้ 😛

    จากสเตทเมนต์ของการใช้บัตรในต่างประเทศ 3 บัตรล่าสุด (Visa 1 ใบ MasterCard 2 ใบ ทั้ง 3 ใบต่างธนาคารกัน) ไม่มีใครแสดงว่ามีการชาร์จค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรต่างประเทศแต่อย่างใด

    แต่อัตราแลกเปลี่ยนที่ทั้ง 3 บัตรใช้ในการ convert เงิน US เป็นเงินไทย แพงกว่าอัตรที่อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารนั้น (เช่น บัตร KTC ดูอัตราแลกเปลี่ยนจาก ธนาคารกรุงไทย) อยู่ประมาณ 2-3% (คือดูหลายๆ รายการ แล้วลองหารออกมา จำนวน % มันไม่เท่ากันทุกวัน ซึ่งเดาเอาจากที่คุณ bpitti บอกว่า เขาคงคิดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ real time ในขณะที่เว็บไซต์ของธนาคารในไทยจะโพสต์อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเวลา บางธนาคารโพสต์วันละครั้งเดียวอีกตะหาก)

    ในกรณีนี้ เดาเอาเองว่า แทนที่จะเขาจะแสดงรายการต่างหากว่ามีค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรในต่างประเทศ x % เขาก็ใช้วิธี markup อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นไปให้ cover ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เขาต้องการจะคิดกับลูกค้า

    ในแง่ความรู้สึก ก็จะทำให้ลูกค้าคิดว่า การใช้บัตรไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ เลย สะดวกกว่าการแลกเงินสดแล้วพกไปเป็นปึกๆ เป็นไหนๆ แถมลูกค้าบางคนก็ไม่ได้กลับมานั่งคำนวณด้วยซ้ำว่าอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเท่าไร

    ในกรณีของ nitbert นี่ พอดีต้องมาทำเรื่องเบิกเงินคืนจากบริษัท แล้วต้องเบิกทั้งส่วนที่เอาเงินสดไปแลก และส่วนที่ใช้บัตรเครดิต ก็เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนมันเขย่งกันอยู่หลายสิบสตางค์ เลยเอะใจ มานั่งคำนวณ ถึงได้เป็นที่มาของการโทรไปสอบถาม และหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ และมาเล่าประสบการณ์ (แบบไม่ค่อยได้เรื่องได้ราว) เป็นวรรคเป็นเวรแบบนี้

    อืมม์ คิดว่าคราวนี้น่าจะจบเรื่องบัตรเครดิตกับอัตราแลกเปลี่ยนจริงๆ แล้วนะคะ แหะๆๆๆ

  34. ขอบคุณคุณ nitbert และคุณ bpitti มากครับ เซียนบัตรเครดิตด้วยกันทั้งคู่เลยนะเนี่ย ซุ่มอยู่ตั้งนาน ในที่สุดก็งำประกายเอาไว้ไม่อยู่ เปล่งแสงออกมาแล้วนะครับ ผมรู้แล้วว่าคราวหน้าถ้ามีปัญหาเรื่องบัตรเครดิตจะถามใคร อิอิ…

    ขอบคุณครับ

  35. Pingback: mymoney ทะลุ 10,000 hits แล้ว เย้... « let your money works for you

Leave a reply to mymoney Cancel reply